► เตือนภัย!! คุณเป็นหนี้บัตรเครดิต อย่าเชื่อ"แก๊งค์ตุ๋น"ผ่าน"มือถือ" อาระวาดหนัก !!!!

ข่าวประชาสัมพันธ์

User Rating: / 2
แย่ดีที่สุด 

    นายกำธร ประเสริฐสม หัวหน้าศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาการปล่อยสินเชื่อ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อโทรศัพท์หลอกลวงหนี้บัตรเครดิต โดยเปิดเผยว่า ทางศูนย์ฯ ได้รับโทรศัพท์ร้องเรียนจากประชาชนระหว่างวันที่ 10-18 มิถุนายน 2553 จำนวนมากถึง 283 ราย ซึ่งส่วนใหญ่แจ้งว่าได้รับโทรศัพท์จากบุคคลที่อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ ธปท. หลอกลวงว่าเป็นหนี้ธนาคารพาณิชย์บางแห่งจากการใช้บัตรเครดิตไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้า เป็นเงินประมาณ 50,000 บาท และหลอกถามข้อมูลส่วนตัวของผู้ตกเป็นเหยื่อ เช่น หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด หมายเลขบัตรเครดิต บัญชีเงินฝากธนาคาร ซึ่งการโทรศัพท์หลอกลวงในลักษณะนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหลอกให้เหยื่อที่รับโทรศัพท์ตกใจ และมิจฉาชีพจะหลอกว่าเหยื่อถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวไปทำบัตรเครดิต หรือบัตร ATM ขอให้ไปทำรายการแก้ไข รหัสที่ตู้ ATM เพื่อป้องกันมิจฉาชีพถอนเงินจากบัญชีเงินฝาก หากเหยื่อหลงเชื่อไปทำรายการตามที่มิจฉาชีพบอก ก็จะถูกหลอกให้โอนเงินไปยังบัญชีของกลุ่มมิจฉาชีพที่เปิดบัญชีรอไว้แล้ว และเงินที่โอนไปจะถูกถอนออกไปทันที

    พฤติกรรมการหลอกลวงลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นหลายครั้งตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา และมักจะอ้างชื่อว่าเป็นพนักงาน ธปท. พร้อมทั้งให้หมายเลขโทรศัพท์ของ ธปท. ด้วย เพื่อหลอกให้เหยื่อเชื่อถือ ซึ่งที่ผ่านมา ธปท.ได้ดำเนินการกล่าวโทษร้องทุกข์ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติจนสามารถจับกุมกลุ่มมิจฉาชีพได้ทั้งในและนอกประเทศไทย แต่พฤติกรรมการหลอกลวงลักษณะดังกล่าว ก็ยังเกิดขึ้นเป็นระยะๆ ธปท. จึงขอเตือนให้ประชาชนที่ได้รับโทรศัพท์ในลักษณะดังกล่าวให้ระมัดระวังอย่าหลงเชื่อให้ข้อมูลส่วนตัว หรือไปทำรายการที่ตู้ ATM เป็นอันขาด ทั้งนี้ หากมี ข้อสงสัยใดๆ ให้โทรศัพท์สอบถามที่ Call Center ของธนาคารที่ท่านมีบัตรหรือบัญชีเงินฝากอยู่ หรือโทรศัพท์สอบถามที่ศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาการปล่อยสินเชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2283-5900 ในวันและเวลาทำการ

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

------------------------------------------------------------------------------------------------------

กรณีตัวอย่าง

วันก่อน ขณะที่ผมนั่งทำงานอยู่ มีโทรศัพท์โทรเข้ามาจาก Unknown caller จากไหนก็ไม่ทราบว่างั้นเถอะ แล้วก็มีระบบเสียงอัตโนมัติแจ้ง ทำนองพูดเป็นทางการว่า “นี่เป็นระบบอัตโนมัติ ขอแจ้งให้ทราบว่า ท่านได้มีการใช้จ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต ของธนาคาร xxxxx เป็นจำนวน 3000 บาท ถ้าต้องการทำรายการกด 1 หรือต้องการติดต่อเจ้าหน้าที่กด 9”

ผมก็เผลอไป  กด 9 ไปคุยกับเจ้าหน้าที่ แจ้งไปว่า ผมไม่มีบัตรเครดิตหรอกครับ  เจ้าหน้าที่รายนี้เป็นผู้หญิง ระหว่างที่ผมคุย เพื่อนร่วมงานก็นั่งฟังกันว่า  ฝ่ายตรงข้ามจะมาไม้ไหน ปรากฏว่า เธอวางหู เพราะผมยืนยันว่าผมไม่มีบัตร   

ปรากฏว่านี่คือ รายการแหกตาประชาชน หลอกโกงเงินชาวบ้าน ใช้วิธีการหลอกทวงเงินเหยื่อ ทำนองว่าเหยื่อติดบัตรเครดิต

เจ้าพวกนี้หาเบอร์โทรมาจากไหน  สังเกตว่าได้เฉพาะเบอร์โทรเท่านั้น เขาไม่มีรายละเอียดเช่น ชื่อ ที่อยู่  คาดว่าน่าจะมาจากข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์รั่วไปที่ไหนสักแห่งแน่ๆ แล้วข้อมูลนั้นสามารถบ่งชี้ได้ว่า คนกลุ่มที่เป็นเจ้าของหมายเลขเหล่านี้ เป็นกลุ่มคนทำงาน 

เพื่อนร่วมงาน บอกว่าตอนนี้โดนกันหลายรายมาก  ดีที่ว่ายังไม่มีใครที่ผมรู้จักเสียรู้มิจฉาชีพกลุ่มนี้ไป แต่ก็เชื่อว่า มีคนจำนวนไม่น้อยที่เสียรู้คนกลุ่มนี้ เพราะคนที่มีบัตรเครดิต ย่อมกลัวการติดหนี้
โปรดสังเกตว่า ธนาคารหลายแห่ง มีเบอร์ของศูนย์ call center คอยประสานเรื่องนี้   โดยเฉพาะกรณีการทวงตามหนี้ในระยะแรกๆ เว้นเสียแต่ว่า เป็นหนี้มากๆ แล้วไม่จ่าย จ่ายช้า  ธนาคารขายหนี้ท่านให้หน่วยงานภายนอกไปแล้ว ก็จะโดนตามอีกแบบ

แต่รายนี้ Unknown caller ที่มาแบบมั่วนิ่ม จงใจใช้วิธีในการโกง ฟังมาว่า ถ้าหากใครหลงเชื่อ จะถูกเจ้าระบบดังกล่าวพาไปหน้าตู้ ATM เพื่อโอนเงินใช้หนี้บัตรดังกล่าวให้ แล้วถ้าหากหลงกลโอนล่ะก็ เงินท่านจะสูญโดนสิ้นเชิง

เรื่องการปิดบังเบอร์โทร (unknowns caller) นั้นเป็นประเด็นว่า แล้วจะตามเจ้ากลุ่มพวกนี้ได้จากไหน คำตอบคือ ยากแก่การตาม  โดยเทคนิคแล้ว ผมคาดว่า เจ้าพวกนี้ไปหาซื้อ SIM โทรศัพท์มือถือมา ประเภทใช้แล้วทิ้ง พวกนี้จะเอามาเข้าระบบ  เป็นระบบ Call Center ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้การทำงานของ IP Telephony อย่างหนึ่ง  ซอฟต์แวร์เหล่านี้จะทำงานโดยการกดเบอร์โทรจากฐานข้อมูล (ซึ่งกลุ่มมิจฉาชีพพวกนี้ได้มา)  โดยฟังก์ชันการทำงานแล้ว เมื่อโทรติดแล้ว จะเข้าสู่ IVR (Interactive Voice Response ) ที่เรารู้จักกันในชื่อระบบตอบรับเสียงนั่นแหละครับ ใน IVR จะสร้างเมนูไว้ (เขาเรียก vector โยงไปโยงมา)  ในกรณีนี้ อาจจะมี 5 – 6 รายการหลัก แล้วก็มีรายการย่อยอีกๆ
รายการหลัก เช่น  สุ่มแจ้งตัวเลขหนี้ เช่น (1) หนี้ 3000 บาท ธนาคาร ก (2) หนี้ 2800 บาท ธนาคาร ข  (3) หนี้ 4000 บาท ธนาคาร ค   แล้วแต่ว่ามันจะสุ่มยังงัย เผื่อให้โดนเหยื่อให้ได้  เท่าที่ฟังเพื่อนรอบๆข้าง  โดยส่วนใหญ่ วงเงินที่แจ้งจะอยู่ที่ 3000  3900  12000  สังเกตว่าวงเงินไม่มากนัก
ถ้าหากเราทำตาม IVR จะผ่านไปสู่รายการต่อไปอีก คือ การโอนเงิน  บังเอิญผมยังไม่โดนกับตัวเอง เลยไม่รู้ว่า เขาใช้วิธีการอะไร ที่แน่ๆ คือ ให้เราไปที่ตู้ ATM แล้วก็ทำรายการ

พวกมิจฉาชีพที่สร้างระบบนี้ขึ้นมาได้ ต้องเข้าใจถึงกลไกการทำงานของระบบ Call center พอสมควร เพราะระบบพวกนี้ใช้ทั้ง “เทคโนโลยี” และ “จิตวิทยา” เข้าผสมกัน  สนุกนะครับ เวลาคิดเรื่อง Script (บทพูด) ให้กับระบบ Call center ทำอย่างไร ลูกค้าจะทำรายการได้ถูก  ลูกค้าไม่โมโห (กดหลายตัวเลข หลาย * หลาย # แล้ว ไม่ได้รายการที่ถูกใจ)  สำหรับพวกมิจฉาชีพ ต้องทำงานเพิ่มอีก ต้องคิดให้ได้ว่า ทำอย่างไร เหยื่อจะไม่ไหวตัวทันซะก่อน

กรณีที่ผมเจอนี้ เหยื่อไหวตัวทันหลายราย นับว่าโชคดีไป ที่ไหวทัน เพราะหนึ่ง ไม่มีบัตรเครดิต  สอง มีแต่ไม่ใช่บัตรที่มิจฉาชีพแจ้ง (พูดง่ายๆ แจ้งมั่ว)  บางรายก็สวนกลับพวกมิจฉาชีพเข้าให้ “มี 300 จะเอามั้ย”  “ผมเป็นตำรวจครับ กำลังตรวจสอบพวกคุณอยู่”

ตามจับพวกนี้ได้มั้ย?? ไม่ง่ายที่จะจับครับ แม้ว่าเราจะมี พรบ. การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ 2550 ซึ่งกำหนดให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์ทุกประเภทต้องจัดเก็บ Log แล้ว แต่มิจฉาชีพพวกนี้ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยครับ  อย่างแรก ระบบ PABX IP Telephony พวกนี้จะใช้แบบไม่แจ้งตัวตนของตัวเองออกไป แล้วพวกเขาอาจจะพ่วง ตู้ sim – หมายถึง กล่องใส่ Sim 10 -20 sim เข้าไป  จะเสมือนมี 20 หมายเลขสำหรับการโทรออก  แล้วระบบจะจัดการบริหารการโทรออกให้  (จัดเก็บสถิติเลย เบอร์ของเหยื่อเบอร์ไหนโทรแล้ว เบอร์ไหนยังไม่ได้โทร  เบอร์  Sim เบอร์ไหน โทรออกไปกี่ครั้งแล้ว)

เพียงแค่ต่อเชื่อมเจ้า PABX server เหล่านี้เข้ากับตู้ Sim แล้วต่อระบบ ให้มันจัดการโทรตามฐานข้อมูลเบอร์มือถือที่ได้มา  พอใช้ไปสักวันสองวัน โล๊ะ SIM และเบอร์ทิ้ง กันไม่ให้ถูกตามรอย แค่นี้ก็เสมือนหายเข้ากลีบเมฆไปแล้ว

ยังมีอีกกรณีที่เพิ่งอ่านมาจากกระทู้  บางคนบอกว่า  โทรมาจากระบบของมิจฉาชีพ แต่ปิดบังเบอร์ไม่มิด คนรับสายรู้ทัน จะโทรกลับไปเอาเรื่องมิจฉาชีพ ปรากฎว่า โทรกลับไปไม่มีใครรับสาย พวกนี้ใช้เทคโนโลยีทั้งหมด คือ เครื่องของมิจฉาชีพ ใช้โทรออกอย่างเดียว  ไม่รับเข้า ถ้าโทรเข้า จะไม่มีการตอบรับจากระบบ หรือจะมีสัญญาณสายไม่ว่าง (busy tone) ให้แทน

สิ่งที่น่ากลัวก็คือ ถ้าหากข้อมูลส่วนบุคคลที่กลุ่มมิจฉาชีพไปขโมยมา มีมากกว่านี้ เช่น ชื่อ เบอร์โทร  บัตรเครดิตที่ถือ  เชื่อได้เลยว่า พวกนี้จะใช้เทคโนโลยีและจิตวิทยาในการหลอกลวงคนได้มากกว่านี้อีก 

แต่ไม่ต้องกลัวนะครับ เพราะระบบธนาคารทั้งหลาย สถาบันการเงิน มีการป้องกันข้อมูลที่อ่อนไหว (sensitive data) เหล่านี้ไว้ให้ปลอดภัยเพียงพอ ไม่ใช่มาอ่านสิ่งที่ผมเขียนแล้วจะกลัวกันจนเกินไป
อย่างไรก็ตาม ต้องรู้เท่าทันกลโกงเหล่านี้ครับ อะไรไม่ชอบมาพากล ก็ให้ระวังในการดำเนินการ โดยเฉพาะเรื่องเงินๆทองๆแล้วไม่เข้าใครออกใคร

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

กรณีตัวอย่าง

11.51 น.  เสียงโทรศัพท์มือถือ ดังขึ้น   เป็นเบอร์ส่วนตัว...ไม่ปรากฎหมายเลขผู้โทรศัพท์เข้ามา

"คุณเป็นหนี้ บัตรเครดิต กสิกรไทย 6,000 บาท"

ผมมึนงงเล็กน้อย  เพราะเพิ่งได้รับอนุมัติบัตรเครดิต กสิกรไทย   เมื่อไม่นานมานี้  แต่ขอโทษ ผมยังไม่ได้โทรศัพท์ไปเปิดใช้บัตรเลย  

แล้วผมจะเป็นหนี้บัตรเครดิต กสิกร  6,000 บาท ได้อย่างไร ?

ผมกดโทรศัพท์ไป คอลเซ็นเตอร์ ของแบงก์กสิกร ทันที 02-888-8888 กว่าจะมีพนักงานมารับสายใช้เวลาเกือบ 5 นาที

ผมขอให้ เธอ เช็กบัตรของผมว่า เป็นหนี้ 6,000 บาท ได้อย่างไร ในเมื่อ ยังไม่ได้เปิดใช้บัตรเลย

สักพัก  พนักงานของกสิกร บอกว่า ... ผมไม่มีหนี้กับธนาคาร

ผมถามเธอว่า นี่  ผมถูกแก๊งค์ต้มตุ๋น  หลอกใช่ไหม !!!

เธอตอบว่า ใช่แล้ว (ค่ะ)


ผมถามเพื่อนในออฟฟิศว่า เคยโดนแบบผมหรือไม่   หลายคนยืนยันว่า เคยโดนมาแล้ว


เมื่อค้นไฟล์ข่าวเก่าย้อนหลัง พบข่าวตุ๋นเงินผ่านโทรศัพท์ หลายคดี บางคนก็โดนหลอกหลักหมื่น บางรายก็โดนหลักแสนบาท 

พฤติกรรมจะคล้ายๆ กันคือ  จะมีพนักงานที่อ้างว่าเป็นตัวแทนธนาคารแจ้งว่า บัตรเครดิตของเรามีการรูดเงินซื้อของที่ห้างแห่งหนึ่ง จึงได้โทรมาสอบถามเจ้าของบัตรว่าได้ใช้บริการหรือไม่ หากพบว่าเจ้าของบัตรแสดงน้ำเสียงตกใจ

พนักงานจะเริ่มรุกด้วยการยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือโดยการเสนอว่าจะประสานไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยและกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) โดยขอชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เลขที่บัตรประชาชน ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับเพื่อดำเนินการสกัดจับคนร้ายที่โจรกรรมบัตร

ไม่ถึง 5 นาที จะมีเจ้าหน้าที่จากดีเอสไอโทรมาโดยแนะนำตัวว่าเป็น พ.ต.ท.หรือ พ.ต.ต. โทรมาสอบถามรายละเอียดบัตรเครดิตด้วยท่าทางกระตือรือร้น

ก่อนวางจะมีเสียงคำสั่งให้ผู้กองหรือไม่ก็สารวัตรดำเนินการติดตามคดีบัตรเครดิตเป็นการด่วน เพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อว่าเป็นดีเอสไอจริง โดยบอกว่าจะประสานงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการอายัดบัตรเครดิต 

ต่อมา จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับมา เมื่อมีคนที่อ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยโทรมาจะให้เหยื่อลงไปที่ตู้เอทีเอ็มที่ใกล้และเร็วที่สุดเพื่อทำการโอนเงินเข้าบัญชีคนร้ายโดยเจ้าหน้าที่จะแนะนำขั้นตอนการกดที่ตู้เอทีเอ็มโดยเลือกเป็นเมนูภาษาอังกฤษเพื่อให้เหยื่อที่ไม่เข้าใจภาษาอังกฤษสับสนหลงโอนเงินในที่สุด

กว่า จะรู้ว่า โดนหลอก  เหยื่อผู้ตื่นตูม ก็สูญเงินไปแล้ว

ก่อนหน้านี้  นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) กล่าวถึง  การหลอกลวงของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งโทรผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (VIOP) ว่า ขณะนี้ดีเอสไอถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์นำไปแอบอ้าง เพื่อหลอกลวงเงินจากประชาชน ซึ่งกลุ่มดังกล่าวจะใช้ความโลภและความกลัวเป็นการหลอกล่อ


ทั้งการอ้างว่าผู้เสียหายค้างชำระค่าบัตรเครดิต หรือหลอกลวงว่า ถูกจารกรรมข้อมูลไปทำบัตรเครดิต    จากการตรวจสอบพบว่าขั้นตอนการหลอกลวง คนร้ายจะเริ่มต้นด้วยการอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ หรือเจ้าหน้าที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ โดยคนร้ายจะใช้ระบบวีโอไอพี สุ่มโทรศัพท์ข้ามประเทศ โดยหมายเลขโทรศัพท์มี 2 ลักษณะคือ แบบปรากฏหมายเลข หรือปรากฏหมายเลขมากกว่าปกติ จากนั้นจะพยายามซักถามข้อมูลส่วนตัว และหลอกให้ผู้เสียหายโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม


คำเตือนจาก ดีเอสไอ. คือ  ประชาชนควรหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะทำธุรกรรมทางการเงินที่ตู้เอทีเอ็ม เนื่องจากไม่มีเจ้าหน้าที่ธนาคารหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหน่วยงานใดจะสั่งให้มีการทำธุรกรรมผ่านตู้เอทีเอ็ม

กองทุนหลักประกันสุขภาพ

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

นายกเทศมนตรี


นายกเทศมนตรีตำบลบางปู

ปลัดเทศบาลตำบลบางปู


ดร.สมเจตน์  ทองเทศ
ปลัดเทศบาล
โครงการตู้เขียว
วีดิโอแนะนำเทศบาล
กองทุน สสส.











ลิ้งค์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
stng
ginfo
mict
bb01
bc
protecttheking2
 
สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย





-รวมลิ้งค์น่าสนใจ-




Facebook ทต.บางปู