►แนวทางปฏิบัติในการฉีดพ่นสารเคมีแอลกอฮอล์

ข่าวประชาสัมพันธ์

User Rating: / 1
แย่ดีที่สุด 

            กระทรวงมหาดไทยได้หารือกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องจากการที่กระทรวงสาธารณสุขได้มีการแนะนำกรณีที่มีการฉีดพ่นสารเคมีแอลกอฮอล์ในสถานที่สาธารณะและสถานประกอบการ ว่าการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้ละอองฝอยฟุ้งกระจายหากฉีดพ่นในประชาชนที่เข้าข่ายป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้ประชาชนทั่วไป ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ชี้แจงเกี่ยวกับคำแนะนำในการใช้สารเคมีเพื่อฆ่าเชื้อหรือทำลายเชื้อโรคต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพของสารเคมี ความเป็นพิษหรือผลกระทบต่อสุขภาพ ลักษณะการใช้งานที่เหมาะสมกับพื้นผิว ปริมาณ และระยะเวลา การตกค้างในสภาพแวดล้อม รวมทั้งสารเคมีนั้นต้องได้รับอนุญาต หรือได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยสามารถสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
            1. ปัจจุบัน สารเคมีที่จะนำมาใช้เพื่อฆ่าเชื้อหรือทำลายเชื้อโรคในสถานที่ต่าง ๆ จะต้องได้รับอนุญาตหรือได้รับการขึ้นทะเบียนจากหน่วยงานของรัฐภายใต้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนั้น คุณภาพ ความเหมาะสม และความปลอดภัยในการใช้สารเคมีชนิดใด ย่อมต้องเป็นไปตามที่ได้รับอนุญาต หรือได้ขึ้นทะเบียนไว้ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค และกรมอนามัยมีความเห็นโดยสรุป ดังนี้
                1.1 การใช้สารเคมีในการฆ่าเชื้อ เหมาะสำหรับการใช้งานบริเวณพื้นผิววัตถุ (Surface) แต่ไม่เหมาะสมกับการฆ่าเชื้อบริเวณผิวหนังของร่างกายโดยตรง เนื่องจากสารเคมีส่วนใหญ่มีฤทธิ์กัดกร่อนหากสัมผัสร่างกายโดยตรงอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังหรืออาจเกิดการดูดซึมเข้าร่างกาย ทำให้เกิดอันตรายได้ ส่วนกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องใช้สารเคมีที่อาจสัมผัสกับผิวหนังร่างกายโดยตรงควรใช้แอลกอฮอล์ (Ethyl alcohol) ความเข้มข้นร้อยละ 70 ทำความสะอาดมือเท่านั้น แต่หากมีความจำเป็นจะต้องใช้สารเคมีโดยการพ่น ควรเลี่ยงการพ่นใส่ร่างกายมนุษย์โดยตรง
                 1.2 น้ำยาที่ใช้พ่นหรืออุโมงค์พ่นน้ำยาส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ได้รับอนุญาต หรือได้ขึ้นทะเบียนเพื่อใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรคบนพื้นผิวหรือวัสดุ ไม่สามารถนำมาใช้กับผิวหนังหรือร่างกายมนุษย์ได้
             2. คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ และข้อควรระวังในการนำมาใช้เพื่อกำจัดเชื้อโรค

วิธีใช้คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์
ข้อควรระวัง
การใช้สารเคมี1. เหมาะกับพื้นผิวทั่วไป แต่ไม่เหมาะที่จะใช้ฆ่าเชื้อโรคบนผิวมนุษย์
2. ต้องมีฉลาดชัดเจนและได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เท่านั้น
1. อาจทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณผิวหนังและดวงตา
2. ควรคำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพ และสิ่งตกค้างในสิ่งแวดล้อม
การใช้รังสี UVสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ แต่เหมาะสำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์ทางห้องปฏิบัติการไม่เหมาะสมสำหรับการฆ่าเชื้อโรคในมนุษย์และสัตว์เลี้ยง เพราะอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้
การอบโอโซนโอโซนเป็นก๊าซพิษที่มีพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมและยังไม่มีผลการศึกษาที่ชัดเจนว่าสามารถฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ต้องดำเนินการโดยบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมที่มีความชำนาญในการใช้วิธีนี้

            3. ข้อเสนอแนะ
                3.1 ในการใช้สารเคมีต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพของสารเคมี ความเป็นพิษหรือผลกระทบต่อสุขภาพลักษณะการใช้งานที่เหมาะสมกับพื้นผิว ปริมาณและระยะเวลา (Contact Time) การตกค้างในสภาพแวดล้อมรวมทั้งการอนุญาตหรือได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
                3.2 ประชาชนสามารถทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคได้ด้วยตนเอง โดยการใช้แอลกอฮอล์ (Ethyl alcohol) ความเข้มข้นร้อยละ 70 ทำความสะอาดที่มือ หรือล้างมือด้วยน้ำและสบู่อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้วิธีที่ง่ายและได้ผลคือ การอาบน้ำ สระผม ทำความสะอาดร่างกายทันทีเมื่อกลับถึงที่พักอาศัย และให้นำเสื้อผ้าไปซักด้วยน้ำผสมผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้า หรือในน้ำอุณหภูมิ 60 - 90 องศาเซลเซียส

            จึงขอประชาสัมพันธ์แนวทางปฏิบัติในการฉีดพ่นสารเคมีแอลกอฮอล์ให้ทราบโดยทั่วกัน

กองทุนหลักประกันสุขภาพ

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

นายกเทศมนตรี


นายกเทศมนตรีตำบลบางปู

ปลัดเทศบาลตำบลบางปู


ดร.สมเจตน์  ทองเทศ
ปลัดเทศบาล
โครงการตู้เขียว
วีดิโอแนะนำเทศบาล
กองทุน สสส.











ลิ้งค์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
stng
ginfo
mict
bb01
bc
protecttheking2
 
สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย





-รวมลิ้งค์น่าสนใจ-




Facebook ทต.บางปู