เทศบาลตำบลบางปู

ลักษณะทางเศรษฐกิจ

ข้อมูลเทศบาล

User Rating: / 2
แย่ดีที่สุด 

โครงสร้างทางเศรษฐกิจ/รายได้ประชากร

เศรษฐกิจของเทศบาลแบ่งเป็น  3  สาขาหลัก  คือ  สาขาอุตสาหกรรม  สาขาเกษตรกรรม และสาขาการค้าและการบริการ  ที่ผ่านมาโครงสร้างเศรษฐกิจได้ปรับตัวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนานาชาติมากขึ้น  ทั้งนี้เกิดจากปัจจัยที่สำคัญ  ได้แก่  การขยายตัวของการลงทุน  การส่งออก  และการท่องเที่ยว เป็นต้น

  1. สาขาอุตสาหกรรม ได้แก่  อุตสาหกรรมก่อสร้าง  ไฟฟ้า  ประปา
  2. สาขาเกษตรกรรม ได้แก่  การกสิกรรม  การประมง  การบริการทางการเกษตร   การแปรรูปสินค้าเกษตร
  3. สาขาการค้าและการบริการ ได้แก่  การคมนาคมขนส่ง  การค้าส่งและ  ค้าปลีก  ธนาคาร  อสังหาริมทรัพย์  ที่อยู่อาศัย  การบริหารราชการ  และการบริการ  โครงสร้างเศรษฐกิจของเทศบาลมีลักษณะที่เหมือนกับโครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดสมุทรปราการ  กรุงเทพมหานคร  และปริมณฑล  ภาคอุตสาหกรรมมีการเติบโตในอัตราส่วนเพิ่มขึ้น  ในขณะที่ภาคเกษตรมีอัตราส่วนลดลง

 

ลักษณะอาชีพ

การประกอบอาชีพของประชาชนในเขตเทศบาล  แต่เดิมส่วนใหญ่ทำนาข้าว  ทำการประมง  แต่ในปัจจุบันได้ประกอบอาชีพเลี้ยงปลา  ทั้งนี้เพราะการทำนาข้าวไม่ได้ผล  เนื่องจากมีศัตรูข้าวมารบกวนมาก  และเก็บเกี่ยวได้เพียงฤดูเดียว  จึงเปลี่ยนมาเลี้ยงปลาและเลี้ยงกุ้ง  ซึ่งได้ผลและแน่นอนกว่า  นอกจากนั้นฝั่งทะเลน้ำเค็ม  ราษฎรยังสามารถประกอบอาชีพการประมง  จับกุ้ง  จับปลาในทะเล  ทำกะปิ  น้ำปลา  ออกจำหน่ายเป็นอาชีพเสริม

เมื่อรัฐบาลได้กำหนดให้พื้นที่บริเวณเขตเทศบาลตำบลบางปู  ตามแนวถนนสุขุมวิทเป็นเขตย่านอุตสาหกรรม  และมีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้น  ราษฎรจึงหันมาประกอบอาชีพตามโรงงาน  จึงทำให้ประชาชนในเขตเทศบาลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง  ค้าขาย  และอื่น ๆ

 

ด้านเกษตรกรรม

ในอดีตพื้นที่เทศบาลมีสภาพที่เหมาะสมต่อการทำอาชีพทางการเกษตร  เพราะมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม  แต่ในขณะเดียวกันสภาพความได้เปรียบในการเป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าทางเรือ รวมทั้งโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก  ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว  จึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินจากที่ดินเพื่อการเกษตรมาเป็นที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม   ที่พักอาศัย  ประกอบธุรกิจการค้า  การพาณิชยกรรม  ซึ่งส่งผลให้ราคาที่ดินสูงขึ้น  รวมทั้งเกษตรกรบางรายได้ขายที่ดินการเกษตรให้นายทุน  ดังนั้นพื้นที่เพื่อการเกษตรจึงลดลงเป็นลำดับ  ประกอบกับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งชุมชนมักได้รับความเสียหายจากน้ำเสีย  และสารพิษที่ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ  ทั้งคลองชลประทาน  และแหล่งน้ำธรรมชาติ  ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเกษตร  โดยเฉพาะการเลี้ยงปลาและการประมง

ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ  ได้แก่  กระท้อน  กล้วยน้ำว้า  กล้วยหอม  ขนุน  ชมพู่    ตะลิงปิง  ทับทิม  น้อยหน่า  และฝรั่ง

 

การเกษตรกรรมในเขตเทศบาลแยกได้ดังนี้

1. พื้นที่ถือครองทั้งหมด 51,801 ไร่
2. พื้นที่การเกษตร 10,580 ไร่
3. ครัวเรือนในภาคเกษตรกรรม 240 ครัวเรือน
4. พื้นที่ไม้ผล  2,630 ไร่
       

การพาณิชยกรรมและบริการ

ด้านพาณิชยกรรม/การบริการ  เป็นด้านที่มีความสำคัญต่อเทศบาล  กิจการประเภทบริษัท  ห้างหุ้นส่วน  เพื่อเป็นการตอบสนองให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนที่อยู่ในเขตเทศบาล  ทั้งด้านการค้าส่งและการค้าปลีก  นอกจากนี้ธุรกิจประเภทธนาคารและอสังหาริมทรัพย์  ก็มีความสำคัญเช่นกัน     สืบเนื่องจากมีการซื้อขายเปลี่ยนแปลงการเป็นเจ้าของที่ดินจากเกษตรกร  เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาที่ดินเป็นประเภทอื่นๆ  รวมทั้งธุรกิจประเภทการบริการและการขนส่ง

ทิศทางการค้าและการบริการในอนาคต  มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเทศบาล  ทั้งนี้จังหวัดสมุทรปราการเป็นจังหวัดหน้าด่านของกรุงเทพมหานครกับภาคตะวันออก  จึงทำให้เป็นศูนย์กลางด้านธุรกิจการค้า/การบริการที่สำคัญ  อันเป็นผลสืบเนื่องมาจาก  จังหวัดสมุทรปราการเป็นที่ตั้งของสนามบินพาณิชย์นานาชาติอันดับสองของประเทศในอนาคต

สถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม

ตลาดสด

ตลาดสด  มี  6   แห่ง (เอกชน)

สถานีบริการเชื้อเพลิง

สถานีบริการเชื้อเพลิง มี   8   แห่ง

1. ปั๊ม ป.ต.ท. หมู่ที่ 1 ตำบลท้ายบ้าน
2. ปั๊มเชลล์   หมู่ที่ 1 ตำบลท้ายบ้าน
3. ปั๊มเจท หมู่ที่ 2 ตำบลท้ายบ้าน
4. ปั๊มเชลล์  หมู่ที่ 2 ตำบลท้ายบ้าน
5. ปั๊มคาลเท็กซ์ หมู่ที่ 1 ตำบลท้ายบ้านใหม่
6. ปั๊มคาลเท็กซ์ หมู่ที่ 2 ตำบลบางปูใหม่
7. ปั๊มบางจาก หมู่ที่ 2 ตำบลบางปูใหม่
8. ปั๊มเอสโซ่ หมู่ที่ 6 ตำบลบางปูใหม่
       

 

สถานประกอบการเทศพาณิชย์

โรงฆ่าสัตว์

โรงฆ่าสัตว์มี  2  แห่ง  (เทศบาล  1  แห่ง  ,  เอกชน  1  แห่ง)

สถานประกอบการด้านบริการ

โรงแรม

โรงแรมและสถานที่พัก  มี  2  แห่ง

  1.   โรงแรมบางปูอินน์  มี  98  ห้อง  อยู่ในพื้นที่  หมู่ที่  2  ตำบลบางปูใหม่  ทางเข้านิคมอุตสาหกรรมบางปู
  2.   โรงแรม  444  มี  73  ห้อง  อยู่ในพื้นที่  หมู่  1  ตำบลบางปูใหม่  ตรงข้ามเมืองโบราณ

สถานบริการร้านอาหาร

ร้านอาหาร  มี  11  แห่ง

1. ร้านซีฟู้ด หมู่ที่ 2 ตำบลท้ายบ้าน
2. ร้านอาหารเพชรศรีฟ้า หมู่ที่ 2 ตำบลท้ายบ้าน
3. ร้านอาหารภูมิ หมู่ที่ 1 ตำบลบางปูใหม่
4. ร้านอาหารนายหมา หมู่ที่ 1 ตำบลบางปูใหม่
5. ร้านอาหารในสถานตากอากาศบางปู หมู่ที่ 2 ตำบลบางปูใหม่
6. ร้านอาหารสวนวัฒนา หมู่ที่ 7 ตำบลบางปูใหม่
7. ร้านอาหารบุญรอด หมู่ที่ 1 ตำบลบางปูใหม่
8. ร้านอาหารง่วนเฮง หมู่ที่ 1 ตำบลบางปูใหม่
9. ร้านอาหารโพธิ์ทะเล หมู่ที่ 1 ตำบลบางปูใหม่
10. ร้านอาหารพลอยทะเล หมู่ที่ 1 ตำบลบางปูใหม่
11. ร้านอาหารบัวตอง หมู่ที่ 2 ตำบลบางปู

สถาบันการเงิน

ธนาคารพาณิชย์ มี 7 แห่ง

  1. ธนาคารกสิกรไทย
  2. ธนาคารไทยพาณิชย์
  3. ธนาคารกรุงไทย
  4. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา  สาขาตำบลท้ายบ้านใหม่
  5. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา  สาขาตำบลบางปูใหม่
  6. ธนาคารนครหลวงไทย
  7. ธนาคารศรีนคร

สถานที่จำหน่ายอาหารตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข

สถานที่จำหน่ายอาหารตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข  มีจำนวน   57     แห่ง

สถานที่สะสมอาหาร  429   แห่ง

การอุตสาหกรรม

พื้นที่เทศบาลตำบลบางปู  มีทำเลที่ตั้งเหมาะสมแก่การประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม  เพราะมีความสะดวกในการขนส่งสินค้าจากจังหวัดสมุทรปราการไปยังท่าเรือในกรุงเทพมหานคร  ตลอดจนสามารถหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการผลิตทางด้านวัตถุดิบและอื่น ๆ  ส่งผลให้นักลงทุนสนใจมาลงทุน  ทำให้เป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของจังหวัด  และจากการเป็นพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม  ได้ก่อให้เกิดการจ้างงานจำนวนมาก  จึงมีแรงงานหลั่งไหลเข้ามาอยู่ในเขตเทศบาลมากเช่นกัน  ทำให้เกิดความต้องการด้านสินค้า  การบริการ  การขนส่ง  อีกทั้งความต้องการด้านที่พักอาศัย  มีการขยายตัวเพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรม  ดังนั้นนอกจากการอุตสาหกรรมเป็นด้านที่สำคัญ  และสามารถสร้างรายได้ให้แก่เทศบาลมากกว่าการประกอบการด้านอื่น ๆ  แล้วยังมีส่วนสนับสนุนกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ  ได้แก่  การสาธารณูปโภค  การค้า  การคมนาคมขนส่ง  การก่อสร้าง  และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  เป็นต้น  โดยพื้นที่อุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่

นิคมอุตสาหกรรมบางปู

เนื้อที่ทั้งหมดของนิคมอุตสาหกรรมบางปู  มีจำนวน  4,000  ไร่  อยู่ในความรับผิดชอบที่เชื่อมต่อกันระหว่างเทศบาลตำบลบางปู  เทศบาลตำบลแพรกษา  และองค์การบริหารส่วนตำบลแพรกษา  แบ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมทั่วไปประมาณ  3,400 ไร่  เขตอุตสาหกรรมส่งออกประมาณ  270  ไร่  เขตพาณิชยกรรม  และที่อยู่อาศัยประมาณ  250  ไร่  ที่เหลือเป็นพื้นที่สาธารณูปโภคและโรงกำจัดน้ำเสียส่วนกลาง  การร่วมลงทุนแบ่งเขตได้ดังต่อไปนี้

ข้อมูลจากโรงงานอุตสาหกรรม      มีโรงงานอุตสาหกรรม    รวม 412   ราย    (ผู้ที่มาขอต่อใบอนุญาต)   แยกได้ดังนี้

 

โรงงานผลิตเหล็กและอุปกรณ์   69 แห่ง  
โรงงานผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ไฟฟ้า 11 แห่ง  
โรงงานผลิตของใช้ด้วยพลาสติก    12 แห่ง  
โรงงานผลิตสารเคมี และยาฆ่าแมลง  23 แห่ง  
โรงงานสะสมน้ำมันเชื้อเพลิง  6 แห่ง  
โรงงานอุตสาหกรรมรวม    8 แห่ง  
โรงงานผลิตอุตสาหกรรมก่อสร้าง   7 แห่ง  
โรงงานผลิตอลูมิเนียม     6 แห่ง  
โรงงานสะสม แก๊ส    10 แห่ง  
โรงงานทอผ้า   35 แห่ง  
กลุ่มโรงงานฟอกหนัง    99 แห่ง  
กลุ่มผลิตอาหาร     30 แห่ง  
กลุ่มอื่น ๆ รวมทั่วไป   96 แห่ง  
       

 

กองทุนหลักประกันสุขภาพ

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

นายกเทศมนตรี


นายกเทศมนตรีตำบลบางปู

ปลัดเทศบาลตำบลบางปู


ดร.สมเจตน์  ทองเทศ
ปลัดเทศบาล
โครงการตู้เขียว
วีดิโอแนะนำเทศบาล
กองทุน สสส.











ลิ้งค์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
stng
ginfo
mict
bb01
bc
protecttheking2
 
สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย





-รวมลิ้งค์น่าสนใจ-




Facebook ทต.บางปู